เมนู

เมื่อสังขารทั้งหลายอันพระโยคีบุคคลผู้กำหนดซึ่งอุทยัพพยะ
อันตนเห็นแจ้งแล้วด้วยอุทยัพพยานุปัสสนาแล้ว ก็ปรากฏขึ้นโดยพลัน
ทีเดียว เมื่อญาณแก่กล้าอยู่ สติก็ละอุทยะความเกิด แล้วตั้งอยู่ในภังคะ
ความดับอย่างเดียว, ภังคานุปัสสนาญาณ ก็ย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะนี้
แก่พระโยคีบุคคลนั้น ผู้เห็นอยู่ว่า ธรรมดาสังขารธรรมทั้งหลาย
เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ก็ย่อมดับไปอย่างนี้

8. อรรถกถาอาทีนวญาณุทเทส


ว่าด้วย อาทีนวญาณ


คำว่า ภยตูปฏฺฐเน ปญฺญา มีความว่า ปัญญาในการปรากฏ
ขึ้นแห่งอุปปาทะความเกิด ปวัตตะความเป็นไป นิมิตเครื่องหมาย อายู-
หนาการประมวลมา และปฏิสนธิการเกิดในภพใหม่ โดยความเป็นภัย
คือในการเข้าไปยึดถือว่ามีภัยปรากฏอยู่เฉพาะหน้า โดยการประกอบ
ด้วยความเบียดเบียนอยู่เนือง ๆ. ย่อมปรากฏโดยความเป็นภัย ฉะนั้น
จึงชื่อว่า ภยตูปัฏฐาน คืออารมณ์. ปัญญา ในภยตูปัฏฐานนั้น. อีก
อย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภยตูปัฏฐาน คือปัญญา เพราะอรรถว่า ปรากฏ
โดยความเป็นภัย คำนั้นย่อมเป็นคำอธิบาย อันท่านกล่าวแล้วว่า ภยตู-
ปัฏฐาน.

คำว่า อาทีนเว ญาณํ เป็นภุมมวจนะ คือสัตตมีวิภัตติ.
เพราะพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรได้กล่าวไว้ว่า
ธรรมเหล่านั้น คือ ปัญญาในความปรากฏ
โดยความเป็นภัย 1, อาทีนวญาณ 1, นิพพิทา-
ญาณ 1, มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญ-
ชนะเท่านั้น
1.
แม้จะกล่าวเพียงคำเดียว ( ญาณเดียว ) ก็ย่อมเป็นอันกล่าว
ทั้ง 3 โดยประเภทแห่งการกำหนด ดุจมุญจิตุกัมยตาญาณเป็นต้น
ฉะนั้น แม้ไม่กล่าวว่า เมื่อภยตูปัฏฐานและอาทีนวานุปัสสนา สำเร็จ
แล้ว นิพพิทานุปัสสนา ก็ย่อมสำเร็จ ดังนี้ ก็พึงทราบว่า เป็น
อันกล่าวแล้วทีเดียว.
สังขารทั้งหลาย อันจำแนกไว้ในภพ 3, กำเนิด 4, คติ 5,
วิญญาณฐิติ 7, และสัตตาวาส 9 ย่อมปรากฏเป็นมหาภัยแก่พระโยคี
บุคคลผู้เสพอยู่ เจริญอยู่ กระทำให้มากอยู่ซึ่งภังคานุปัสสนามีความ
ดับไปแห่งสังขารทั้งปวงเป็นอารมณ์ เหมือนอย่างสีหะ, เสือโคร่ง,
เสือเหลือง, หมี, เสือดาว, ยักษ์, รากษส, โคดุ, สุนัขดุ, ช้าง
ซับมันดุ, งูดุ, ฟ้าผ่า, ป่าช้า, สมรภูมิ, หลุมถ่านเพลิงที่คุกรุ่นเป็นต้น
1. ขุ.ป. 31/507.

ย่อมปรากฏเป็นภัยใหญ่แก่บุรุษผู้กลัวภัยใคร่มีชีวิตอยู่เป็นสุข, ภยตู-
ปัฏฐานญาณ ย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะนี้ แก่พระโยคีบุคคลผู้เห็นอยู่ว่า
สังขารทั้งหลายในอดีตก็ดับไปแล้ว, ในปัจจุบันก็กำลังดับ, ถึงแม้ใน
อนาคตก็จักดับไปอย่างนี้เหมือนกัน
ในภพ, กำเนิด, คติ, ฐิติ, และสัตตาวาสทั่วทุกแห่งหน ที่
ต้านทาน ที่ซ่อนเร้น ที่ไป ที่พึ่ง ย่อมไม่ปรากฏเลยแก่พระโยคีบุคคล
ผู้เสพอยู่เจริญอยู่กระทำให้มากอยู่ ซึ่งภยตูปัฏฐานญาณนั้น, ความ
ปรารถนาก็ดี ความถือมั่นก็ดี ย่อมไม่มีในสังขารทั้งหลายอันมีใน ภพ,
กำเนิด, คติ, ฐิติ, นิวาสะ แม้สักสังขารเดียว, ภพทั้ง 3 ปรากฏ
ดุจหลุมถ่านเพลิงที่เต็มด้วยถ่านเพลิงไม่มีเปลว, มหาภูตรูป 4 ปรากฏ
ดุจอสรพิษที่มีพิษร้าย, ขันธ์ 5 ปรากฏดุจเพชฌฆาตที่กำลังเงื้อดาบ,
อัชฌัตติกายตนะ 6 ปรากฏดุจเรือนว่างเปล่า, พาหิรายตนะ 6 ปรากฏ
ดุจโจรปล้นชาวบ้าน, วิญญาณฐิติ 7 และสัตตาวาส 9 ปรากฏดุจถูก
ไฟ 11 กองลุกเผาอยู่โชติช่วง, สังขารทั้งหลายทั้งปวงปรากฏแก่ผู้นั้น
เหมือนเป็นฝี, เป็นโรค, เป็นลูกศร, เป็นไข้, เป็นอาพาธ, ปราศจาก
ความแช่มชื่น, หมดรส, เป็นกองแห่งโทษใหญ่ เป็นเหมือนป่าชัฏที่มี
สัตว์ร้าย แม้จะตั้งขึ้นโดยอาการที่น่ารื่นรมย์แก่บุรุษผู้กลัวภัยใคร่จะมี
ชีวิตอยู่เป็นสุข เป็นเหมือนถ้ำที่มีภูเขาไฟพ่นอยู่, เป็นเหมือนสระน้ำ
ที่มีรากษสสิงสถิตอยู่ เป็นเหมือนข้าศึกที่กำลังเงื้อดาบขึ้น. เป็น

เหมือนโภชนะที่เจือด้วยยาพิษ, เป็นเหมือนหนทางที่เต็มไปด้วยโจร,
เป็นเหมือนเรือนที่ไฟติดทั่วแล้ว, เป็นเหมือนสนามรบที่เหล่าทหาร
กำลังต่อยุทธกัน.
เหมือนอย่างว่า บุรุษนั้น อาศัยภัยมีป่าชัฏที่เต็มไปด้วยสัตว์
ร้ายเป็นต้นเหล่านี้ กลัวแล้ว ตกใจแล้ว ขนลุกชูชัน ย่อมเห็นโทษ
อย่างเดียวรอบด้าน ฉันใด, พระโยคาวจรนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ครั้นเมื่อสังขารทั้งปวงปรากฏแล้วโดยความเป็นภัยด้วยอำนาจภังคานุ-
ปัสสนา ก็ย่อมเห็นแต่โทษอย่างเดียวปราศจากรสหมดความแช่มชื่น
อยู่รอบด้าน. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ย่อมเกิดขึ้นแก่พระโยคีบุคคลนั้น
ผู้เห็นอยู่อย่างนี้.
พระโยคีบุคคลนั้น เมื่อเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นโทษ
อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย กระวนกระวาย ไม่ยินดี ในสังขารทั้งหลาย
อันมีประเภทในภพ, กำเนิด, คติ, วิญญาณฐิติ, และสัตตาวาสทั้งปวง.
เหมือนอย่างว่าพญาหงส์ทองผู้ยินดีเฉพาะเชิงเขาจิตรกูฏ ย่อมไม่ยินดี
บ่อน้ำแถบประตูบ้านคนจัณฑาลซึ่งไม่สะอาด, ย่อมยินดีเฉพาะสระใหญ่
ทั้ง 7 เท่านั้น ฉันใด, พญาหงส์คือพระโยคีนี้ ย่อมไม่ยินดีสังขาร
อันมีประเภทต่าง ๆ ล้วนแล้วด้วยโทษอันตนเห็นแจ่มแจ้งแล้ว, แต่
ย่อมยินดียิ่งในอนุปัสสนา 7 เท่านั้น เพราะยินดีในภาวนา คือเพราะ
ประกอบด้วยความยินดีในภาวนาก็ฉันนั้นเหมือนกัน. แสะเหมือนสีหะ

มิคราชา ถูกจับขังไว้ แม้ในกรงทองก็ไม่ยินดี, แต่ย่อมยินดีใน
หิมวันตประเทศอันกว้างใหญ่ถึง 3,000 โยชน์ ฉันใด, สีหะคือพระ-
โยคีบุคคลแม้นี้ ย่อมไม่ยินดีแม้ในสุคติภพทั้ง 3 แต่ย่อมยินดีในอนุ-
ปัสสนา 3 เท่านั้น
อนึ่ง เหมือนพญาช้างฉัททันต์ เผือกผ่องทั้งตัวมีที่ตั้งดี 7 สถาน
มีฤทธิ เหาะไปในเวหาส ย่อมไม่ยินดีในใจกลางพระนคร, แต่ย่อม
ยินดีในสระใหญ่ชื่อฉัททันต์เท่านั้น ฉันใด, พระโยคีบุคคลเพียงดัง
ช้างตัวประเสริฐนี้ ย่อมไม่ยินดีในสังขารธรรมแม้ทั้งปวง, แต่ย่อมยินดี
ในสันติบทคือพระนิพพานเท่านั้น อันเท่าแสดงแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า
การไม่เกิดขึ้น เป็นการปลอดภัย1, มีใจน้อยไปโน้มไปเงื้อมไปใน
สันติบทคือพระนิพพานนั้น. นิพพิทานุปัสสนาญาณย่อมเป็นอันเกิดขึ้น
แล้วแก่พระโยคีนั้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

9. อรรถกถาสังขารุเปกขาญาณุทเทส


ว่าด้วย สังขารุเปกขาณาณ


คำว่า มุญฺจิตุกมฺยตาปฏิสงฺขาสนฺติฏฺฐนา ปญฺญา สงฺขารุ-
เปกฺขาสุ ญาณํ
ความว่า พระโยคีบุคคลใด มีความประสงค์คือ
1. ขุ.ป. 31/115.